วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การทำนางเกลือ

การทำนาเกลือ
         เกลือเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า “โซเดียมคลอไรด์” (NaCl) มี ลักษณะเป็นผลึกสีขาว รสเค็ม เกลือเป็นอาหารธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ และสัตว์มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ต้องบริโภคเกลือประมาณวันละ 5-10 กรัม เพื่อนำไปช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายให้เซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ทำงานอย่างปกติ นอกจากนี้เกลือยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้มากมายเช่น ปรุงอาหาร ถนอมอาหาร ผสมกับน้ำแข็งเพื่อเพิ่มความเย็น ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีต่างๆ ได้แก่ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือโซดาทำขนมโซเดียมคาร์บอเนต (NaCO3) หรือโซดาแอส โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ และ ไฮโดรคลอริก(HCl) หรือกรดเกลือ เป็นต้น
         การทำนาเกลือ เริ่ม จากการกักเก็บน้ำทะเลไว้ขณะน้ำขึ้น โดยกักเก็บเอาไว้ในนาขังหรือวังน้ำที่อยู่ใกล้ทะเลมากที่สุด  โดยนาขังหรือวังน้ำต้องมีพื้นที่กว้างและลึกพอที่จะกักเก็บน้ำทะเลปริมาณ มาก ๆ ไว้ใช้ได้ตลอดช่วงการทำนาเกลือ การกักน้ำทะเลไว้ในนาขังก่อนปล่อยเข้านาขั้นต่อไป ช่วยให้ตะกอนต่าง ๆ และสิ่งเจือปน ตกตะกอนจนน้ำทะเลใสสะอาด แล้วจึงวิดน้ำทะเลด้วยกังหันลมหรือใช้เครื่องสูบน้ำให้เข้าสู่นาตากหรือนา แผ่ ซึ่งเป็นนาเกลือขั้นต้น
           ประเภทของเกลือ
         การผลิตเกลือของประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เกลือทะเลหรือเกลือสมุทรและเกลือหินหรือเกลือสินเธาว์ โดยแต่ละประเภทมีที่มาแตกต่างกัน ดังนี้
         1. เกลือทะเลหรือเกลือสมุทร (Sea Salt) คือเกลือที่ผลิตขึ้นโดยการนำน้ำทะเลขึ้นมาตากแดดให้น้ำระเหยไปเหลือแต่ผลึก เกลือตกอยู่ (Solar Evaporation System) เกลือ ประเภทนี้มีการผลิตและการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณและถือเป็นอาชีพเก่าแก่อาชีพ หนึ่งของโลกและของคนไทย โดยได้มีการกำหนดเป็นสินค้าเกษตรกรรมขั้นต้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509
         2. เกลือหินหรือเกลือสินเธาว์ (Rock Salt) คือเกลือที่ทำจากดินที่น้ำชะดินละลายแล้วแห้งปรากฎเป็นคราบเกลือติดอยู่บนผิว ดิน เรียกว่า “ส่าดิน” เมื่อน้ำผิวดินหรือส่าดินมาละลายน้ำ แล้วต้มจะได้เกลือสินเธาว์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้มีการค้นพบเกลือหินที่อยู่ใต้ดินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้รูปแบบการผลิตเกลือสินเธาว์เปลี่ยนแปลงไปเป็นการใช้เกลือหินแทน โดยใช้วิธีฉีดน้ำลงไปละลายเกลือในบ่อเกลือ หรือใช้วิธีสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาตากแดด หรือโดยการต้มเพื่อให้ได้ตะกอนเกลือ และหากใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยสามารถผลิตได้ตลอดปี
         ปัจจุบัน เกลือหินได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายและเป็นคู่แข่งกับเกลือทะเล เพราะสามารถใช้ทดแทนกันได้ แต่เกลือหินมีข้อแตกต่างจากเกลือทะเลที่ไม่มีธาตุไอโอดีน (ป้องกันโรคคอหอยพอกและโรคเอ๋อ) และได้ถูกกำหนดเป็นสินค้าอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
    
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนาเกลือ>>>>https://youtu.be/LQ33sqZtUkE
                                                     >>>>https://youtu.be/wOO_Ysz96gU
                                                     >>>>https://youtu.be/k4sFWGOifPU
                                                     >>>>https://youtu.be/9Rlavf6b5r4
     

อ้างอิง
       http://fieldtrip.ipst.ac.th/intro_sub_content.php?content_id=7&content_folder_id=87
       http://www.mkh.in.th/index.php/2010-03-22-18-05-14/2010-03-26-05-53-43
       http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=49401
       http://www.kr.ac.th/ebook/petcharat/b1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น