วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สุขภาพที่ดี

ความจริงที่ว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ ยังเป็นคำพูดที่ไม่ล้าสมัย เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธว่าการมีสุขภาพดี มีค่ากว่าการได้ลาภเป็นเงินเป็นทองด้วยซ้ำไป เพราะแม้ว่าจะมีเงินมากองจนท่วมตัวก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีคืนมาได้
        สุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่มีใคร … นอกจากตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนด เป็นสิ่งที่เราเลือกได้ แต่เราได้เลือกแล้วหรือยัง มองย้อนกลับไปดูว่า ที่ผ่านมา เราดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องหรือเปล่า เราสนใจเรื่องอาหารการกินมากน้อยแค่ไหน เรากินเพื่ออยู่ไปวัน ๆ หรือเรามีความสุขกับการกิน จนมากเกินไป ถ้าเป็นเช่นนั้น คงถึงเวลาแล้วที่เราต้องรีบปรับตัว และไม่ปล่อยปละละเลยกับการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะหากเป็นปัญหาขึ้นมาแล้ว อาจสายเกินแก้
        เมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพ เรื่องอาหารการกินดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดเจนกว่าเรื่องอื่น ดังนั้น การจัดปรับ พฤติกรรมการกินให้ถูกต้อง ถูกหลักโภชนาการที่ดี กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ กินเป็นเวลา ที่สำคัญ คือ กินให้พอดีและ กินให้หลากหลาย ก็สามารถลดความเสี่ยง ต่อการเจ็บป่วย ไปได้มากกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ในการทำความเข้าใจเรื่องการกิน อาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการกินได้ ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองสำรวจตัวเองว่ามีพฤติกรรมการกิน อาหาร เพื่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหน จากโภชนบัญญัติ 9 ข้อต่อไปนี้ 
       1.  กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำซาก เพื่อความเพียงพอของสารอาหารและไม่สะสมสารพิษ ในร่างกาย และหมั่นดูแล น้ำหนักตัว
        2. กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ และเพื่อคุณค่าที่มากกว่าขอแนะ
        3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ได้วิตามิน ใยอาหารและสารป้องกันอนุมูลอิสระ
  4.  กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ คนทั่วไปที่สุขภาพดีไม่มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูงกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง ผู้สูงอายุกินไข่ได้วันเว้นวัน ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองเป็นอาหารเพื่อสุขภาพควรกินเป็นประจำ
    5.  ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย นมที่ไขมันต่ำหรือนมถั่วเหลือง จะให้ประโยชน์มากทำให้ไม่มีไขมันสะสม
        6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ลดการกินอาหารผัดและทอด ปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม นึ่ง อบ แทน
        7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด เพื่อลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
       8 . กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน เลือกซื้ออาหารปรุงสุกใหม่ ๆ ล้างผักให้สะอาดก่อนปรุง
         9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะบั่นทอนสุขภาพและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
       การมีสุขภาพที่ดีไม่ได้หมายถึงน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแต่หมายถึงการที่เราดูแลตัวเองอย่าถูกต้องตั้งแต่เรื่อง การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อน การป้องกันโรค การลดหรือเลิกสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ ร่างกายเรากระปี้กระเปร่าพร้อมที่จะดำเนินชีวิตประจำวัน


อ้างอิง
        http://www.greenspotco.com/health_detail.php?ci=8
        http://www.siamhealth.net/public_html/index0/good_index.htm#.VaYK8Pntmko
        http://health.herbalife.co.th/
        http://pirun.ku.ac.th/~b5310303201/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5.html

การทำนางเกลือ

การทำนาเกลือ
         เกลือเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า “โซเดียมคลอไรด์” (NaCl) มี ลักษณะเป็นผลึกสีขาว รสเค็ม เกลือเป็นอาหารธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ และสัตว์มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ต้องบริโภคเกลือประมาณวันละ 5-10 กรัม เพื่อนำไปช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายให้เซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ทำงานอย่างปกติ นอกจากนี้เกลือยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้มากมายเช่น ปรุงอาหาร ถนอมอาหาร ผสมกับน้ำแข็งเพื่อเพิ่มความเย็น ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีต่างๆ ได้แก่ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือโซดาทำขนมโซเดียมคาร์บอเนต (NaCO3) หรือโซดาแอส โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ และ ไฮโดรคลอริก(HCl) หรือกรดเกลือ เป็นต้น
         การทำนาเกลือ เริ่ม จากการกักเก็บน้ำทะเลไว้ขณะน้ำขึ้น โดยกักเก็บเอาไว้ในนาขังหรือวังน้ำที่อยู่ใกล้ทะเลมากที่สุด  โดยนาขังหรือวังน้ำต้องมีพื้นที่กว้างและลึกพอที่จะกักเก็บน้ำทะเลปริมาณ มาก ๆ ไว้ใช้ได้ตลอดช่วงการทำนาเกลือ การกักน้ำทะเลไว้ในนาขังก่อนปล่อยเข้านาขั้นต่อไป ช่วยให้ตะกอนต่าง ๆ และสิ่งเจือปน ตกตะกอนจนน้ำทะเลใสสะอาด แล้วจึงวิดน้ำทะเลด้วยกังหันลมหรือใช้เครื่องสูบน้ำให้เข้าสู่นาตากหรือนา แผ่ ซึ่งเป็นนาเกลือขั้นต้น
           ประเภทของเกลือ
         การผลิตเกลือของประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เกลือทะเลหรือเกลือสมุทรและเกลือหินหรือเกลือสินเธาว์ โดยแต่ละประเภทมีที่มาแตกต่างกัน ดังนี้
         1. เกลือทะเลหรือเกลือสมุทร (Sea Salt) คือเกลือที่ผลิตขึ้นโดยการนำน้ำทะเลขึ้นมาตากแดดให้น้ำระเหยไปเหลือแต่ผลึก เกลือตกอยู่ (Solar Evaporation System) เกลือ ประเภทนี้มีการผลิตและการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณและถือเป็นอาชีพเก่าแก่อาชีพ หนึ่งของโลกและของคนไทย โดยได้มีการกำหนดเป็นสินค้าเกษตรกรรมขั้นต้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509
         2. เกลือหินหรือเกลือสินเธาว์ (Rock Salt) คือเกลือที่ทำจากดินที่น้ำชะดินละลายแล้วแห้งปรากฎเป็นคราบเกลือติดอยู่บนผิว ดิน เรียกว่า “ส่าดิน” เมื่อน้ำผิวดินหรือส่าดินมาละลายน้ำ แล้วต้มจะได้เกลือสินเธาว์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้มีการค้นพบเกลือหินที่อยู่ใต้ดินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้รูปแบบการผลิตเกลือสินเธาว์เปลี่ยนแปลงไปเป็นการใช้เกลือหินแทน โดยใช้วิธีฉีดน้ำลงไปละลายเกลือในบ่อเกลือ หรือใช้วิธีสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาตากแดด หรือโดยการต้มเพื่อให้ได้ตะกอนเกลือ และหากใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยสามารถผลิตได้ตลอดปี
         ปัจจุบัน เกลือหินได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายและเป็นคู่แข่งกับเกลือทะเล เพราะสามารถใช้ทดแทนกันได้ แต่เกลือหินมีข้อแตกต่างจากเกลือทะเลที่ไม่มีธาตุไอโอดีน (ป้องกันโรคคอหอยพอกและโรคเอ๋อ) และได้ถูกกำหนดเป็นสินค้าอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
    
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนาเกลือ>>>>https://youtu.be/LQ33sqZtUkE
                                                     >>>>https://youtu.be/wOO_Ysz96gU
                                                     >>>>https://youtu.be/k4sFWGOifPU
                                                     >>>>https://youtu.be/9Rlavf6b5r4
     

อ้างอิง
       http://fieldtrip.ipst.ac.th/intro_sub_content.php?content_id=7&content_folder_id=87
       http://www.mkh.in.th/index.php/2010-03-22-18-05-14/2010-03-26-05-53-43
       http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=49401
       http://www.kr.ac.th/ebook/petcharat/b1.html