วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สุขภาพที่ดี

ความจริงที่ว่า ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ ยังเป็นคำพูดที่ไม่ล้าสมัย เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธว่าการมีสุขภาพดี มีค่ากว่าการได้ลาภเป็นเงินเป็นทองด้วยซ้ำไป เพราะแม้ว่าจะมีเงินมากองจนท่วมตัวก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่ดีคืนมาได้
        สุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่มีใคร … นอกจากตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนด เป็นสิ่งที่เราเลือกได้ แต่เราได้เลือกแล้วหรือยัง มองย้อนกลับไปดูว่า ที่ผ่านมา เราดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องหรือเปล่า เราสนใจเรื่องอาหารการกินมากน้อยแค่ไหน เรากินเพื่ออยู่ไปวัน ๆ หรือเรามีความสุขกับการกิน จนมากเกินไป ถ้าเป็นเช่นนั้น คงถึงเวลาแล้วที่เราต้องรีบปรับตัว และไม่ปล่อยปละละเลยกับการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะหากเป็นปัญหาขึ้นมาแล้ว อาจสายเกินแก้
        เมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพ เรื่องอาหารการกินดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดเจนกว่าเรื่องอื่น ดังนั้น การจัดปรับ พฤติกรรมการกินให้ถูกต้อง ถูกหลักโภชนาการที่ดี กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ กินเป็นเวลา ที่สำคัญ คือ กินให้พอดีและ กินให้หลากหลาย ก็สามารถลดความเสี่ยง ต่อการเจ็บป่วย ไปได้มากกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว ในการทำความเข้าใจเรื่องการกิน อาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการกินได้ ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองสำรวจตัวเองว่ามีพฤติกรรมการกิน อาหาร เพื่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหน จากโภชนบัญญัติ 9 ข้อต่อไปนี้ 
       1.  กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำซาก เพื่อความเพียงพอของสารอาหารและไม่สะสมสารพิษ ในร่างกาย และหมั่นดูแล น้ำหนักตัว
        2. กินข้าวเป็นอาหารหลักสลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ และเพื่อคุณค่าที่มากกว่าขอแนะ
        3. กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ได้วิตามิน ใยอาหารและสารป้องกันอนุมูลอิสระ
  4.  กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ คนทั่วไปที่สุขภาพดีไม่มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูงกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง ผู้สูงอายุกินไข่ได้วันเว้นวัน ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองเป็นอาหารเพื่อสุขภาพควรกินเป็นประจำ
    5.  ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย นมที่ไขมันต่ำหรือนมถั่วเหลือง จะให้ประโยชน์มากทำให้ไม่มีไขมันสะสม
        6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร ลดการกินอาหารผัดและทอด ปรุงอาหารด้วยวิธีต้ม นึ่ง อบ แทน
        7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด เพื่อลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
       8 . กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน เลือกซื้ออาหารปรุงสุกใหม่ ๆ ล้างผักให้สะอาดก่อนปรุง
         9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะบั่นทอนสุขภาพและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
       การมีสุขภาพที่ดีไม่ได้หมายถึงน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแต่หมายถึงการที่เราดูแลตัวเองอย่าถูกต้องตั้งแต่เรื่อง การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อน การป้องกันโรค การลดหรือเลิกสิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ ร่างกายเรากระปี้กระเปร่าพร้อมที่จะดำเนินชีวิตประจำวัน


อ้างอิง
        http://www.greenspotco.com/health_detail.php?ci=8
        http://www.siamhealth.net/public_html/index0/good_index.htm#.VaYK8Pntmko
        http://health.herbalife.co.th/
        http://pirun.ku.ac.th/~b5310303201/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5.html

การทำนางเกลือ

การทำนาเกลือ
         เกลือเป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า “โซเดียมคลอไรด์” (NaCl) มี ลักษณะเป็นผลึกสีขาว รสเค็ม เกลือเป็นอาหารธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ และสัตว์มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ต้องบริโภคเกลือประมาณวันละ 5-10 กรัม เพื่อนำไปช่วยรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายให้เซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ทำงานอย่างปกติ นอกจากนี้เกลือยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้มากมายเช่น ปรุงอาหาร ถนอมอาหาร ผสมกับน้ำแข็งเพื่อเพิ่มความเย็น ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีต่างๆ ได้แก่ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือโซดาทำขนมโซเดียมคาร์บอเนต (NaCO3) หรือโซดาแอส โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ และ ไฮโดรคลอริก(HCl) หรือกรดเกลือ เป็นต้น
         การทำนาเกลือ เริ่ม จากการกักเก็บน้ำทะเลไว้ขณะน้ำขึ้น โดยกักเก็บเอาไว้ในนาขังหรือวังน้ำที่อยู่ใกล้ทะเลมากที่สุด  โดยนาขังหรือวังน้ำต้องมีพื้นที่กว้างและลึกพอที่จะกักเก็บน้ำทะเลปริมาณ มาก ๆ ไว้ใช้ได้ตลอดช่วงการทำนาเกลือ การกักน้ำทะเลไว้ในนาขังก่อนปล่อยเข้านาขั้นต่อไป ช่วยให้ตะกอนต่าง ๆ และสิ่งเจือปน ตกตะกอนจนน้ำทะเลใสสะอาด แล้วจึงวิดน้ำทะเลด้วยกังหันลมหรือใช้เครื่องสูบน้ำให้เข้าสู่นาตากหรือนา แผ่ ซึ่งเป็นนาเกลือขั้นต้น
           ประเภทของเกลือ
         การผลิตเกลือของประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ เกลือทะเลหรือเกลือสมุทรและเกลือหินหรือเกลือสินเธาว์ โดยแต่ละประเภทมีที่มาแตกต่างกัน ดังนี้
         1. เกลือทะเลหรือเกลือสมุทร (Sea Salt) คือเกลือที่ผลิตขึ้นโดยการนำน้ำทะเลขึ้นมาตากแดดให้น้ำระเหยไปเหลือแต่ผลึก เกลือตกอยู่ (Solar Evaporation System) เกลือ ประเภทนี้มีการผลิตและการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณและถือเป็นอาชีพเก่าแก่อาชีพ หนึ่งของโลกและของคนไทย โดยได้มีการกำหนดเป็นสินค้าเกษตรกรรมขั้นต้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509
         2. เกลือหินหรือเกลือสินเธาว์ (Rock Salt) คือเกลือที่ทำจากดินที่น้ำชะดินละลายแล้วแห้งปรากฎเป็นคราบเกลือติดอยู่บนผิว ดิน เรียกว่า “ส่าดิน” เมื่อน้ำผิวดินหรือส่าดินมาละลายน้ำ แล้วต้มจะได้เกลือสินเธาว์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้มีการค้นพบเกลือหินที่อยู่ใต้ดินในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้รูปแบบการผลิตเกลือสินเธาว์เปลี่ยนแปลงไปเป็นการใช้เกลือหินแทน โดยใช้วิธีฉีดน้ำลงไปละลายเกลือในบ่อเกลือ หรือใช้วิธีสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาตากแดด หรือโดยการต้มเพื่อให้ได้ตะกอนเกลือ และหากใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยสามารถผลิตได้ตลอดปี
         ปัจจุบัน เกลือหินได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายและเป็นคู่แข่งกับเกลือทะเล เพราะสามารถใช้ทดแทนกันได้ แต่เกลือหินมีข้อแตกต่างจากเกลือทะเลที่ไม่มีธาตุไอโอดีน (ป้องกันโรคคอหอยพอกและโรคเอ๋อ) และได้ถูกกำหนดเป็นสินค้าอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510
    
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนาเกลือ>>>>https://youtu.be/LQ33sqZtUkE
                                                     >>>>https://youtu.be/wOO_Ysz96gU
                                                     >>>>https://youtu.be/k4sFWGOifPU
                                                     >>>>https://youtu.be/9Rlavf6b5r4
     

อ้างอิง
       http://fieldtrip.ipst.ac.th/intro_sub_content.php?content_id=7&content_folder_id=87
       http://www.mkh.in.th/index.php/2010-03-22-18-05-14/2010-03-26-05-53-43
       http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=49401
       http://www.kr.ac.th/ebook/petcharat/b1.html

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

มาตรฐานการรู้สารสนเทศ

มาตรฐานการรู้สารสนเทศ
                การรู้สารสนเทศ (Information  Liter) หมายถึง ทักษะการรู้ความสามารถของบุคคลที่จะบอกได้ว่าต้องการสารสนเทศอะไร  สามารถค้นหา ประเมินและใช้สารสนเทศที่ได้มาอย่างมีประสิทธิภาพ การรู้สารสนเทศเป็นพื้นฐานหรือเครื่องมือที่สำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีพของบุคคล ทุกกลุ่ม คนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สารสนเทศ (Information  Liter) จะมีความรู้ความสามารถ เช่น  สามารถกำหนดความต้องการสารสนเทศของตนได้ว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและระสิทธิผล  สามารถประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
มาตรฐานการรู้สารสนเทศ
                มาตรฐานการรู้สารสนเทศจะเป็นกรอบหรืแนวทางสำหรับประเมินว่ามีความรู้สารสนเทศหรือไม่ มากน้อยเพียงใด สมาคมห้องสมุดเพื่อวิจัย ประเทศสหรัฐอเมริกา (Association of College and Research Librarics)ได้กำหนดมาตรฐานซึ่งจะยกมาเป็นตัวอย่างพอสังเขป
                มาตรฐาน สามารถกำหนดสารสนเทศที่ต้องการได้  สามารถสำรวจทัพยากรสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการได้
                มาตรฐาน สามารถเข้าสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสาระสำคัญ คือ สามารถเลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการสามารถกำหนดยุทธ์ในการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถใช้วิธีการหลายๆวิธี  สามารถสรุปย่อ บันทึก และจัดการสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศได้
                มาตรฐาน สามารถประเมินผลสารสนเทศและแหล่งและสามารถนำสารสนเทศมาประยุกต์กับความรู้เดิมได้  สามารถเลือกเกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้ สามารถสังเคราะห์  แนวความสำคัญเพื่อสร้างความคิดใหม่  สามารถเปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อหามูลค่าเพิ่มได้
                มาตรฐาน สามารถใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ สาระสำคัญ คือ สารถประยุกต์ใช้สารสนเทศในการวางแผนสามารถปรับปรุงกระบวนการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้
                มาตรฐาน สามารถเข้าใจบริบททางสังคม  กฎหมาย  และเศรษฐกิจ  ของสารสนเทศและการใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย เช่น  สามารถบอกและอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับการควบคุม (Censorship) และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด หรือ สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบข้องบังคับที่เกี่ยวของกับการเข้าถึง และการใช้ทรัพยาการสารสนเทศ

อ้างอิง
         http://popofblog.blogspot.com/
         https://wiki.stjohn.ac.th/groups/poly_ordinarycourse/wiki/0f5d2/_2_.html
         https://www.gotoknow.org/posts/216315
         http://www.ubu.ac.th/blog/anawat-53
         http://mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=746&articlegroup_id=164
       

สมบัติเชิงกลของการทดสอบแรงดึง

สมบัติเชิงกลของการทดสอบแรงดึง
                ความแข็งของจุดคลาก (Yield  Strength) เมื่อมีความเค้นมากระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเกิดความเคียดหรือวัตถุเปลี่ยนแปลรูปร่างไป ถ้านำความเค้นออกจากวัตถุจะคืนสู่สภาพเดิม ลักษระนี้เรียนว่า การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบชั่วคราวหรือแบบยืดหยุ่น (elastic  deformation) หากเพิ่มความเค้นอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดหนึ่งแล้วปลดปล่อยแรงกระทำ ปรากฏว่าวัสดุจะไม่หดกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้น ลักษณะนี้เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบถาวร (slastic diformation) โดยจุดวิกฤติที่บ่งบอกการเปลี่ยนรูปแบบถาวร เรียกว่า จุดคลาก (yield piont) ช่วงเริ่มต้นจนกระทั่งถึงจุคลาก เรียกว่า ขีดจำกัดยืดหยุ่น (elastic limit) หากให้แรงเกินจุดนี้วัตถุจะเปลี่ยนรูปถาวรหรืความสำพันธ์ระหว่างความเค้นและความเคลียดจะไม่เป็นเส้นตรงซึ่งจุดนี้ เรียกว่า ขีดจำกัดสัดส่วน (proportional limit) ในวัสดุส่วนใหญ่จะมีค่าขีดจำกัดยืดหยุ่นและค่าขีดจำกัดสัดส่วนใกล้เคียงกันมากงไม่สามารถหาค่าได้อย่างชัดเจนแน่นอน การวัดหาค่าทั้งสองขึ้นอยู่กับความไวของเครื่องมือที่ใช้ โดยทั่วไปมักใช้วิธีค่าความเคลียดออฟเซต (offset strain value) ที่ค่า 0.002 หรือ 0.2% โดยลากเส้นตรงจากจุดออฟเซต   ในกรณีนี้ค่าเริ่มจาก 0.002 ที่แกนความเคลียดแล้วลากขนานไปกับช่วงขีดจำกัดยืดหยุ่นจนกระทั่งจัดเส้นกราฟความเค้น – ความเครียด 
ความเค้น (Stress)
เป็นลักษณะของแรงต้านที่อยู่ภายในของโลหะ ที่มีความพยายามในการต้านทานต่อแรงภายนอก ที่มากระทำต่อวัสดุนั้นๆ โดยแบ่งชนิดของความเค้นได้เป็นดังนี้ คือ
Tensile Stress หมายถึง ความเค้นแรงดึงที่เกิดจาก Tensile Force ที่มากระทำต่อชิ้นงาน
Compressive Stress หมายถึงความเค้นแรงกด หรือ ความเค้นแรงอัด
Shear Stress หมายถึงความเค้นแรงเฉือน เป็นความเค้นที่เกิดจาก Shear Force
Bending Stress หมายถึงความเค้นแรงดัด เป็นความเค้นที่เกิดขึ้นต่อเมื่อชิ้นงานนั้นๆได้รับแรงดัด
Torsion Stress หมายถึงความเค้นแรงบิด เป็นความเค้นที่เกิดจาก Torque กระทำตอชิ้นงานนั้นๆ
ความเครียด (Stain)
เป็นความเครียดที่ปรากฏภายใต้แรงที่มากระทำต่อเนื้อของวัสดุ จนวัสดุเกิดรับแรงนั้นใว้ไม่ใหว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างไปในทิศทางของแรงที่มากระทำ เช่น เกิดการยืดตัวออก (Elongation) หรือหดตัวเข้า (Contraction)โดยแบ่งชนิดของความเครียดได้เป็นดังนี้ คือ
Tensile Stain หมายถึง ความเครียดแรงดึงที่เกิดจาก Tensile Force ที่มากระทำต่อชิ้นงาน
Compressive Stain หมายถึงความเครียดแรงกด หรือ ความเครียดแรงอัด
Shear Stain หมายถึงความเครียดแรงเฉือน เป็นความเครียดที่เกิดจาก Shear Force
ความยืดหยุ่น (Flexible)
ความยืดหยุ่นก็คือการที่มีแรงจากภายนอกมากระทำจนเกิดการปลี่ยนแปลง รูปร่างอย่างชั่วคราว (Elastic Deformation) และเมื่อเราปล่อยแรงกระทำนั้นออก ก็จะสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้เอง คุณบัติจะคล้ายๆกับการเป็นสปริงนั่นเอง
ความอ่อนตัว (Ductilily)
เป็นสมบัติเชิงกลอย่างหนึ่งของวัสดุที่รับแรงกดหรือแรงอัด แล้วเกิดเปลี่ยนรูปร่างอย่างถาวร (Elastic Deformation) โดยเฉพาะอาจเกิดการอ่อนตัว ตีแผ่ให้ป็นแผ่นบางได้ดี ตัวอย่างเช่น ทองคำ
ความเปราะ (Brittleness)
เป็นสมบัติเชิงกลอย่างหนึ่งของวัสดุที่รับแรงเพียงเล็กน้อย แล้วเกิดการขาดออกจากกัน เช่น เหล็กหล่อ แก้ว เป็นต้น โดยจะคิดจากค่า 5% ของความเครียดเป็นหลัก กล่าวคือวัสดุใดๆก็ตามที่เกิด การแตกหักก่อนค่า 5% ของความเครียดวัสดุนั้นก็จะมีความเปราะมากนั่นเอง
ความเหนียว (Toughness)
เป็นสมบัติของวัสดุที่สามารถยืดตัวออกไปได้อย่างถาวร หรือเป็นการเปลี่ยแปลงรูปร่างอย่าง ถาวร ซึ่งจะคิดจากค่า 5% ของความเครียดเป็นหลักเช่นกัน
ความแข็งแรง (Strength)
หมายถึงความแข็งแรงดึงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength) ความแข็งแรงกดหรือแรงอัด สูงสุด (Ultimate Compressive Strength) ซึ่งเราสามารถจะสังเกตุได้จาก Stress-Stain Curve ซึ่งตรงจุดแตกหัก(Breaking Point) นั้นเราจะเรียกกันว่า เป็นจุดความแข็งแรงที่จุดแตกหักนั่นเอง
ความแข็งแกร่ง (Stiffness)
หมายถึงสมบัติของวัสดุที่แสดงความสามารถในการต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูป ร่างหรือ ต่อการเปลี่ยนรูปในช่วง Elastic limit ในขณะที่กำลังรับแรงนั้นๆอยู่ ค่าความแกร่งจะเปลี่ยนแปลงไป ตามค่าของ Modulus of Elastic และค่า Rigdity
พลาสติกซิตี (Plasticity)
หมายถึงสมบัติของวัสดุที่สามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้โดยที่มิได้เกิด ขาดหรือแตกหัก โดยเฉพาะจะมีความสำคัญมากในงาน Rolling Extruding และ Drawing เป็นต้น
ความล้า (Fatique)
หมายถึงแรงที่กระทำต่อวัสดุเป็นจังหวะๆหรือซ้ำๆจนวัสดุนั้นเกิดการเปราะและแตกหักในภายหลัง
การคืบ (Creep)
หมายถึงการเกิดความเครียดอย่างถาวร (Permanent Set) อย่างช้าๆภายในเนื้อของวัสดุที่ต้อง รับแรงทางกลเป็นเวลาตอเนื่องเนิ่นนานและอุณหภูมิสูงๆ จนกระทั่งเนื้อของวัสดุนั้นๆเกิดการเคลื่อนตัว ของอะตอม ภายในเนื้อของวัสดุจนกระทั่งเกิดการขาดจากกันไปในที่สุด
ฮิสเตอริซิสทางกล

หมายถึงพลังงานที่ถูกสะสมอยู่ภายในเนื้อของวัสดุ อันเป็นสาเหตุมาจากวัสดุนั้นๆปล่อยพลังงาน ที่รับใว้กลับออกมาไม่หมด จึงเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ( Thermal Energy) ออกมาแทนนั่นเอง
วีดีโอประกอบเนื้อหา>>>>https://www.youtube.com/watch?v=D8U4G5kcpcM

อ้างอิง
    https://www.mtec.or.th/mcu/phml/index.php/th/2014-09-12-03-39-42/31-2009-04-20-04-12-48
    http://www.ssi-steel.com/index.php/about-ssi/product-process/service-center/beneficial-information/metallurgical-aspect-of-hot-rolled-steel/mechanical-properties-of-hot-rolled-steel/testing-of-mechanical-properties/tensile-test
    หนังสือ วัสดุวิศวกรรม เรียบเรียงโดย  ดร. กิตติพงษ์  กิมะพงศ์ พร้อมคณะ
    eng.sut.ac.th/metal/images/stories/02_Mechanical_Properties.pdf